บริการวิชาการ

1
 
ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2561 คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับ สำนักงานบัณฑิตศึกษา และธนาคารออมสิน จัดกิจกรรมบริการวิชาการ ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยของประชาชน มุ่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชุมชน โดยผู้บริหาร และบุคลากร ของคณะ วจก. ได้ลงพื้นที่อบรมพัฒนาอาชีพ  2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการแปรรูปอาหาร แปรรูป และการถนอมอาหารเพื่อการค้าปลีก Street Food - Food Truck ณ จ.กระบี่ / หลักสูตร ผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อการค้า ณ อ.คุระบุรี จ.พังงา และ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา 
 
DSCF6150
 
DSCF6196
 
DSCF6274 1
 
ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณศศิกาญจน์ กิติภัทรภูมิกุล ประธานพัฒนาสตรีอำเภอกะทู้ เป็นวิทยากรบรรยายภาควิชาการและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการแปรรูปอาหาร และการถนอมอาหารเพื่อการค้าปลีก Street Food / Food Truck โดยภาคปฏิบัติได้สอนวิธีการทำน้ำพริกคั่วกุ้งแห้ง และแปรรูปเป็นสลัดโรสน้ำพริกคั่วกุ้งแห้ง และเกี้ยวทอดสอดใส้น้ำพริกคั่วกุ้งแห้ง ซึ่งเดิมทีจังหวัดกระบี่มีน้ำพริกคั่วหลากหลาย เช่น ไตปลาแห้ง ไตปลาคั่วกลิ้ง น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกเผากุ้ง น้ำพริกปลาข้าวสาร การจัดอบรมครั้งนี้เป็นแนวทางในการแปรรูปน้ำพริกให้รับประทานได้หลากหลายมากขึ้น และต่อยอดการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน
 
DSCF6413
 
DSCF6786
 
สำหรับหลักสูตรผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อการค้า มีคุณศุภสิมา สังวาลย์ คุณวันดี ปะหนัน และ คุณแดง ปะหนัน เป็นวิทยากรสาธิตการทำแชมพูสระผม และ ครีมนวดผม สะกัดจากดอกอัญชัญและมะกรูด ทั้งนี้การดำเนินงานดังกล่าวคณะวิทยาการจัดการ มุ่งตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการเป็นที่พึ่งของท้องถิ่น และมีส่วนผลักดัน สนับสนุน ให้ชาวบ้านในเขตอันดามันสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีอาชีพ และรายได้ที่มั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิต
 
DSCF6813
 
DSCF6941
 
DSCF6956
 
DSCF6977
 
DSCF7067
 
DSCF7097 1
 
FollowPKRU W: www.pkru.ac.th E: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. F: facebook.com/pkrupageT: 0 7652 3094-7

thailand research expo aug 2017 1

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (RDI PKRU) ร่วมนำเสนอผลงานภาคนิทรรศการในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2560 (Thailand Research Expo 2017)” ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม 2560 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ในธีมงานวิจัยเพื่อพลังงาน ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตให้ผู้สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป สำหรับในปีนี้ RDI PKRU ได้นำผลงานวิจัย เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมร้อนของระบบระบายอากาศคอมเพรสเซอร์แอร์ โดย ดร.สุพัฒนชัย โพธิ์แก้ว จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเป็นการนำพลังงานลมจากระบบระบายความร้อนคอมเพรสเซอร์มาใช้หมุนกังหันที่ต่อเข้ากับมอเตอร์ขนาดเล็ก (6V.) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยชุดผลิตไฟฟ้าจะยึดติดกับโครงเหล็กตู้คอมเพรสเซอร์ มีขนาดเล็กสะดวกในการติดตั้ง ราคาไม่แพง วัสดุหาซื้อได้ภายในประเทศ มีเป้าหมายการใช้ประโยชน์ในการลดการใช้พลังงานและต่อยอดเชิงพาณิชย์

thailand research expo aug 2017 2

thailand research expo aug 2017 3

thailand research expo aug 2017 4

thailand research expo aug 2017 5

thailand research expo aug 2017 6

thailand research expo aug 2017 7

ติดตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้ทาง W: www.pkru.ac.th E: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. F: facebook.com/pkrupageT: 076 211 959

 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV )
 
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สายธาร ทองพร้อม จากสาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นในงานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV ) “การสร้างสรรค์นวัตกรรมและงานวิจัย มาตรฐานการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา คลังปัญญาในการบริการวิชาการสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชน” พร้อมกันนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้นำผลงานวิจัย “การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง” โดย รศ.ประภาศรี อึ่งกุล จากสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ ร่วมจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานบริการวิชาการ ระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  
 
 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV )
 
 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV )
 
 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV )
 
 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV )
 
 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV ) 
 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV )
 
 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV )
 
 “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 4” ( 4th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference - RUNIRAC IV )
 
ติดตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้ทาง W: www.pkru.ac.th E: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. F: facebook.com/pkrupageT: 076 211 959
 
southern local wisdom
 
ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2559 รศ.ประภาศรี อึ่งกุล นักวิจัยและประธานสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมจัดนิทรรศการและเผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง “การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง” Knowledge Management of Southern Local Wisdom at Phuket, Phung-Nga, Krabi and Trang Province ในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2559 (Thailand Research Expo 2016) ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร 
 
southern local wisdom 1
 
รศ.ประภาศรี อึ่งกุล เปิดเผยว่า “การศึกษาวิจัยดังกล่าวของสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นการสังเคราะห์งานจากการลงพื้นที่ ซึ่งศึกษาบทเรียนจากพื้นที่สู่การพัฒนาการเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาฯ (HR Community Development) เป็นการศึกษาวิจัยที่เกิดจากกระบวนการค้นหา ปัญหา ความต้องการจำเป็นแบบมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสีย โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research : PAR) เพื่อศึกษาวิจัยที่เริ่มต้นจากความต้องการของชุมชน และชุมชนมีส่วนร่วมด้วยการเป็นนักวิจัยพื้นถิ่น ทั้งนี้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมหรือชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ใช้วิธีบูรณาการการศึกษาวิจัยกับการเรียนการสอน การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดหลัก P (PLAN) D (DO) C (Check) A (Act) มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการเพื่อปรับปรุง สรุปบทเรียน และสังเคราะห์องค์ความรู้ จนเกิดเป็นวิธีการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง 
 
southern local wisdom 2
 
southern local wisdom 3 
สำหรับการลงพื้นที่ศึกษาวิจัยเชิงพื้นที่ (Area Based) 4 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ และตรัง ได้ดำเนินการในเรื่องการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ มุ่งเน้นศึกษาเชิงประเด็น (Oriented Issue Based) จำนวน 8 ประเด็น ได้แก่ 1.ภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจฐานราก ประเภทกลุ่มออมทรัพย์ กองทุนสวัสดิการชุมชน 2.ภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้าน 3.ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมการแต่งกาย 4.ภูมิปัญญาด้านการแสดง .รองเง็ง 5.ลิเกป่า 6.รำวงเวียนครก 7.มโนราห์ และ 8.ภูมิปัญญาด้านพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ข้าวไรซ์เบอรรี่ และสับปะรดภูเก็ต ซึ่งจากการสังเคราะห์งานและถอดบทเรียนทั้ง 8 ประเด็น ผู้วิจัยจะมีการดำเนินการขยายผลเกี่ยวกับการเพิ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ในมิติอื่นๆ เพื่อพัฒนาการวิจัยในระดับกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น (Cluster of Southern Local Wisdom) และจำเป็นต้องเพิ่มกลไกเสริมในการสนับสนุนการพัฒนางานด้วยการจัดตั้งองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ตลอดจนมุ่งเน้นกระบวนการ การสืบสาน การเผยแพร่ การถ่ายทอด การเชื่อมโยง นำไปสู่ความเข้มแข็ง และยั่งยืนของชุมชนภาคใต้” นักวิจัยด้านการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้ เผย
 
southern local wisdom 4
 
southern local wisdom 6 
ติดตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้ทาง W: www.pkru.ac.th E: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. F: facebook.com/pkrupageT: 076 211 959 
Thailand Research Expo 2016
 
ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2559 สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมนำเสนอผลงานภาคนิทรรศการในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2559 (Thailand Research Expo 2016)” โดยมี ผศ.ดร.กุลวรา สุวรรณพิมล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมด้วย บุคลากรสายวิชาการ สายสนับสนุน นักวิจัย และนักศึกษา เข้าร่วม ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
 
Thailand Research Expo 2016 1
 
Thailand Research Expo 2016 2
 
ผศ.ดร.กุลวรา สุวรรณพิมล กล่าวว่า “ธีมสำหรับงานวิจัยแห่งชาติในปีนี้ คือ งานวิจัยเพื่อการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหาร โดย ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้กับผู้สนใจทั้งในแวดวงวิชาการ ภาคธุรกิจ และราชการ ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัยนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้ ผลงานจำนวน 3 เรื่อง ที่ได้มาเสนอ ได้แก่ 1.งานวิจัยเรื่อง ‘การศึกษาแนวทางในการควบคุมคุณภาพดอกเห็ดนางฟ้า โดยใช้เทคนิค 7 QC tools กรณีศึกษาหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จังหวัดภูเก็ต’ โดยนักวิจัย นายหาญพล มิตรวงศ์ จากสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.งานวิจัยเรื่อง ‘แนวทางการลดความสูญเปล่า กระบวนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด ศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอน หัวหาร บ่อแร่ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จังหวัดภูเก็ต’ โดยนักวิจัย นางสาวจารุวรรณ พรหมเงิน จากสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 3. งานวิจัยเรื่อง ‘การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้’ โดยนักวิจัย รศ.ประภาศรี  อึ่งกุล จากสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ โดยงานวิจัยดังกล่าวมีเป้าหมายการใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับผลงานวิจัยที่ได้นำเสนอล้วนเกิดจากการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาร่วมกับท้องถิ่นภูเก็ต เพื่อหวังยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้กับชาวบ้าน ซึ่งการผลิตผลงานวิจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนสอดรับกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
 
Thailand Research Expo 2016 3
 
Thailand Research Expo 2016 4
 
Thailand Research Expo 2016 5
 
Thailand Research Expo 2016 6
 
Thailand Research Expo 2016 7
 
ติดตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้ทาง W: www.pkru.ac.th E: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. F: facebook.com/pkrupageT: 076 211 959 
phuket research and development
 
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับ เทศบาลตำบลป่าคลอก จัดการประชุมศึกษาความต้องการด้านการบริการวิชาการและวิจัยแก่สังคม โดยมี นางสาวประไพพิมพ์ สุรเชษฐ์คมสัน รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยฯ นายสุรสิทธิ์ พลรัฐนาสิทธิ์ รองปลัดเทศบาลตำบลป่าคลอก คณาจารย์-นักวิจัยจากคณะต่างๆของมหาวิทยาลัย ตัวแทนจากส่วนราชการ-สถานศึกษา ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่  เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต 
 
บริการวิชาการ
 
สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้ เพื่อประเมินประโยชน์ และผลกระทบด้านการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่ตำบลป่าคลอก ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นักวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางวิชาการ และจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน เพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ เช่น การเกษตร การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การทำบัญชีครัวเรือน การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ฯลฯ  ทำให้การหารือร่วมกับตัวแทนชุมชนในครั้งนี้ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล และรับทราบถึงผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ชุมชนป่าคลอกได้รับบริการวิชาการ สามารถนำปัญหา อุปสรรค หรือประเด็นที่ประสบความสำเร็จ นำข้อมูลกลับไปประเมินผลการให้บริการวิชาการ วางแผนศึกษาความต้องการ และจัดทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการต่อไปในการดำเนินงานของ ปี พ.ศ.2560 นับเป็นการแสดงบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของ ม.ราชภัฏภูเก็ต ที่นำองค์ความรู้ด้านวิชาการของนักวิจัย ดำเนินงานอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชนเป็นสำคัญ
 
บริการวิชาการ
 
phuket research and development 3
 
phuket research and development 4
 
phuket research and development 5
 
ติดตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้ทาง W: www.pkru.ac.th E: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. F: facebook.com/pkrupageT: 076 211 959