วันพฤหัสบดี, 22 ธันวาคม 2559 16:19

นิเทศศาสตร์ ผนึกกำลัง สสส. สร้างนักสื่อสารไอเดียสุขภาวะ ตอบโจทย์ท้องถิ่นใต้

Written by
Rate this item
(1 Vote)
สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับ ศูนย์สื่อสารเด็กไทยมุสลิมและกลุ่มละครมาหยา และสำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเวทีฐานราก พัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะ (คิดดี ไอดอล) เปลี่ยนสังคม ด้วยพลังคนสื่อรุ่นใหม่ ครั้งที่ 1/2 โดยมี ผศ.นพดล จันระวัง คณบดีคณะวิทยาการ เป็นประธาน ร่วมด้วย ผศ.จิราพร ประสารการ ประธานสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ตลอดจน บุคลากร และนักศึกษาจากหลากหลายสถาบันอุดมศึกษาทั่วภาคใต้ เข้าร่วม ณ ห้องสัมมนา ม.ราชภัฏภูเก็ต
 
สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
นายฮาริส มาศชาย ผู้จัดการโครงการนักสื่อสารสร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะฯ ได้กล่าวถึงการจัดกิจกรรมดังกล่าวว่า “เป็นเวทีแรกของการอบรมให้กับนักสื่อสารคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน เพื่อร่วมเป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ และจะมีการจัดเวทีครั้งที่สอง ในวันที่ 24 ธันวาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา และจะมีการคัดเลือกให้เหลือ 20 ทีมสุดท้าย เพื่อร่วมเป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์สุขภาวะภาคใต้ พร้อมรับทุนในการผลิตสื่อจริง และลงพื้นที่ปฏิบัติการในการสื่อสารชุมชนอีกด้วย สำหรับเวทีฐานราก พัฒนานักสื่อสาร เพื่อพัฒนาคนสื่อ ได้มีคนรุ่นใหม่ที่ใช้ไอเดียสร้างสรรค์ ซึ่งได้นำเรื่องราวสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่มานำเสนอ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนของตนเอง เกิดเป็นสื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดีในการสร้างสรรค์ผ่านสุขภาวะในภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสามารถสื่อสารในชุมชนได้จริง”
 
สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
 
ติดตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ได้ทาง W: www.pkru.ac.th E: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. F: facebook.com/pkrupageT: 076 211 959
Read 1338 times