วันพฤหัสบดี, 03 ตุลาคม 2562 10:31

ม.ราชภัฏภูเก็ต จับมือออมสินจัดกิจกรรม Social Lab ดึง นศ.พัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

Written by
Rate this item
(1 Vote)
 
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2562 สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏภูเก็ต และธนาคารออมสิน จัด “โครงการออมสินยุวพัฒน์ รักษ์ถิ่น Plus” โดยมี ผศ.ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดี ม.ราชภัฏภูเก็ต เป็นประธาน ร่วมด้วย ดร.อทิพันธ์ เสียมไหม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นายสกนธ์ วิชญวิศิษฏ์ชล ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาค หน่วยสถาบันการเงินชุมชน ธนาคารออมสิน ตลอดจน คณะอาจารย์ผู้จัดโครงการ นักศึกษา คณะทำงานจากธนาคารออมสิน ตลอดจนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน จ.ภูเก็ต เข้าร่วม ณ ห้องประชุมแคแสด อาคารเฉลิมพระเกียรติ 
 
 
 
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา กล่าวว่า “สำหรับโครงการออมสินยุวพัฒน์ รักษ์ถิ่น Plus นั้น เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินจัดกิจกรรมจากธนาคารออมสิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการศึกษาสภาพปัญหาและการแก้ไขปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน จ.ภูเก็ต การส่งเสริม การพัฒนาและการยกระดับอาชีพ การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการ การส่งเสริมอาชีพวิสาหกิจชุมชนระดับครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง ตลอดจนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการกำกับ ติดตามการทำบัญชีครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โครงการออมสินยุวพัฒน์ รักษ์ถิ่น Plus ตลอดปี 2562 มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินการจัดกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 7 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการพริกไทยดำคืนถิ่น พัฒนาวิสาหกิจชมชนสู่ความยั่งยืน 2.โครงการยกระดับกลุ่ม สมุนไพรพื้นถิ่น (ส้มควาย) กินเพื่อบำรุง ลดพุง บำรุงหัวใจ 3.โครงการไข่มุกอันดามันบนผืนผ้า ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.โครงการย้อนถิ่นเมืองเก่า บอกเล่าวัฒนธรรมเครื่องแต่งกาย 5.โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายเห็ดศรีสุนทร สู่ความยั่งยืน 6.โครงการการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ (Home stay Klong BoSaen (KBS) และ 7.โครงการยกระดับกลุ่มซาโนติก เพื่อพัฒนาอาชีพในชุมชน (Sano Tik Signature)
 
 
 
ผลจากดำเนินการจัดกิจกรรมพบว่าเกิดการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน โดยนักศึกษาสามารถเรียนรู้การทำงานและเกิดการปฏิบัติการจริงกับชุมชนหรือ Social Lab เสริมสร้างทักษะความคิด ความรู้ และการลงมือปฏิบัติการจริงของนักศึกษา ประการต่อมา ชุมชนหรือองค์กรชุมชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างเครือข่ายในการประกอบธุรกิจ เกิดการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในหลายรูปแบบ ทั้งด้านการตลาด ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ดังกล่าวนี้สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับบุคคลและชุมชนหรือองค์กรชุมชนที่เข้าร่วมได้เพิ่มมากขึ้น” ดร.อทิพันธ์ เสียมไหม กล่าว
 
ด้าน ผศ.ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดี กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์ รักษ์ ถิ่น Plus” กล่าวได้ว่าสามารถสร้างโอกาสและประโยชน์ให้กับผู้เข้าร่วมทุกภาคส่วน ประการที่ 1 นักศึกษามีโอกาสได้รับงบประมาณในการร่วมโครงการสามารถนำไปเป็นทุนศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้ พร้อมทั้งได้รับทักษะความคิด ความรู้ และความสามารถในการลงมือปฏิบัติการจริงร่วมกับชุมชน และได้ประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากห้องเรียน ซึ่งทักษะที่ได้รับสามารถนำไปเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี ประการต่อมา ประชาชนของชุมชน องค์กรชุมชน หรือผู้นำชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เกิดการพัฒนาต่อยอดจากทรัพยากรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมสู่การเพิ่มมูลค่าในด้านต่างๆ อันเป็นเพิ่มพูนฐานทางความรู้  ฐานความเข้มแข็ง ฐานทางด้านอาชีพให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และประการสุดท้าย เป็นการเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยได้บริการวิชาการให้กับประชาชนในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งปรัชญาของมหาวิทยาลัยในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนา ปฏิบัติภารกิจภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันผลักดันให้มีการจัดโครงการและกิจกรรมดีๆ ให้กับชุมชนท้องถิ่นของเรา ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนท้องถิ่น เกิดการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความมั่นคงเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น” อธิการบดี กล่าว
 
 
 
 
 
 
 
Read 655 times Last modified on วันพฤหัสบดี, 03 ตุลาคม 2562 10:31